วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต


ระบบหายใจ
มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด



ระบบไหลเวียนโลหิต
ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นระบบที่นำสารเข้าและออกจากเซลล์ สามารถช่วยในการรักษาระดับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตในสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท เรียงตามลำดับจากเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อนที่สุดดังนี้ ส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต: หัวใจ,เลือด,และเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตยังรวมไปถึง pulmonary circulation คือ ระหว่างหัวใจและปอด และ systemic circulation คือระหว่างหัวใจและร่างกาย
หัวใจ
หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายโดยผ่านเส้นเลือด หัวใจของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ซีกคือ atrium 2ห้องที่อยู่ข้างบนและ ventricle 2ห้องที่อยู่ด้านข้าง right Atrium คือ ห้องขวาบนของเรา ทำหน้าที่รับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากเส้นเลือดvenacavaแล้วส่งต่อไปยัง ขวาล่างหรือ right ventricle ซึ่งห้องนี้จะส่งเลือดที่มี poor oxygen ไปยังปอดโดยการใช้เส้นเลือดpulmonary artery หลังจากนั้น left atrium หรือ ซ้ายบนที่เราเห็นจะรับเลือดที่มีออกซิเจนมาจากปอด ผ่านทางเส้นเลือด pulmonary vein แล้วส่งต่อไปยัง left ventricle คือซ้ายล่างที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายโดยผ่านทางเส้นเลือดAorta
เลือด
ในร่างกายมีเลือดอยู่ประมาณ 6000 ลบ.ซม. เลือดประกอบด้วย plasma,platelet,and blood cell plasma (Elekocyte) อยู่ในเลือดประมาณ 55 เปอร์เซ็น platelet ทำหน้าที่ช่วยให้แผลปิด blood cell ประกอบด้วย เลือดแดงและขาว (Leukocyte) เลือดแดงทำหน้าที่ส่งออกซิเจนโดยใช้สารชื่อฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งมีธาตุ Fe เป็นองค์ประกอบ และมีรูปร่างลักษณะเว้าทั้งบนและล่าง และไม่มีนิวเคลียส (สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผืวในการสัมผัสก๊าซออกซิเจน และในในก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) นั้นสามารถที่จะถูกเม็ดเลือดแดงจับได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจนถึง 200-400 เท่า โดยจะสร้างที่ไขกระดูก และทำลายที่ตับและม้ามหลังจากมีอายุได้ 120 วัน เลือดขาวทำหน้าที่ เป็นภูมิคุ้มกันโดยสร้างที่ไขกระดูก,ม้าม,ต่อมน้ำเหลือง และทำลายที่ม้ามโดยมีอายุ 3-12 วัน และใช้วิธีการจับเชื้อโรคกินแบบ Phagocytosis ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.Agranulocyte โดยชนิดนี้จะไม่มีเม็ดกรานูล(granule) และมีนิวเคลีสใหญ่เต็มเซลล์ เช่น Phagocyte (monocyte,macrophage) และ Lymphocyte (สร้างภูมิคุ้มกัน) เช่น T-cellและ B-cell
2.Granulocyte ชนืดนี้มีเม็ดกรานูล มีนิวเคลียสเล็กๆ และลักษณะประหลาด ได้แก่ Basophil, Neutrophil, Eosinophil
[แก้] สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต
ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หนอนตัวแบน ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว ตัวมีปากซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร ซึ่งแตกแขนงอย่างมาก ด้วยความแบนของตัว ทำให้อาหารที่ถูกย่อยเรียบร้อยแล้วสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกเซลล์ นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนสามารถแพร่จากน้ำเข้าสู่เซลล์ได้ และเนื่องจากทุกเซลล์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ต้องอาศัยการลำเลียงน้ำและแก๊สออกซิเจน




[แก้] ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด
ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (open circulatory system) พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะได้รับอาหารและก๊าซจากเลือดที่อยู่ในช่องว่างนี้ เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดส่วนหนึ่งจะไหลจากฮีโมซีลเข้าเส้นเลือดกลับหัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิดระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ หัวใจ เลือด และหลอดเลือด) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไสัเดือนและหมึก เลือดไหลในเส้นเลือดตลอดเวลา ใช้แรงดันมากว่าการไหลเวียนระบบเปิด

สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยอาเทอรี่ เวนและหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที เลือด มีส่วนเป็นของเหลว 55% มีส่วนเป็นของที่ไม่เหลวอีก45%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น